บริการด้าน การทำฟันเด็ก ทันตกรรมสำหรับเด็ก
“การทำฟันเด็ก” เรื่องที่ผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญ เพื่อเด็กมีฟันสวย สุขภาพดี
เรื่องทำฟันใครว่าไม่สำคัญจริง ๆ ต่อให้ยังเป็นเด็กอยู่เราในฐานะผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก แต่อย่างไรแล้วอาจมีบางคนอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำฟันเด็ก แง่มุมต่าง ๆ ก่อน ไม่ต้องห่วงเพราะเราได้รวบรวมรายละเอียดที่สำคัญทุกแง่มุมมาบอกต่อ เพื่อลูกน้อยมีฟันสวย สุขภาพช่องปากแข็งแรงแล้วเรามาร่วมสร้างกันดีกว่า
หมอฟันเด็ก VS หมอฟันผู้ใหญ่มีความแตกต่างอย่างไร?
ต้องบอกว่าหมอฟันเด็กนั้นจะเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทันตกรรมเด็กทั้งหมดโดยเฉพาะเรื่องฟันน้ำนมที่จัดว่ามีลักษณะทางกายวิภาคที่แตกต่างจากฟันแท้ มีโอกาสเกิดปัญหาฟันผุได้ง่าย ๆ เพราะซี่เล็กกว่า จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าหมอฟันเด็กต้องมีความชำนาญด้านการป้องกันอย่างมาก เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งสังเกตแล้วเด็กที่ไม่ได้รับการทำความเข้าใจมักเกิดปัญหาฟันผุได้ ทางที่ดีพ่อแม่ควรพาลูก ๆ พบทันตแพทย์เด็กทุก 6 เดือนดีกว่า
ลักษณะการทำฟันเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไร?
- การทำฟันให้เด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี : จัดว่าเป็นช่วงวัยแรกเริ่มฟันน้ำนม เน้นไปที่คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปาก เลิกใช้ขวดนมในช่วงกลางคืน และให้อาหารว่างที่เหมาะสมที่สุด
- การทำฟันให้เด็กอายุ 3 – 6 ปี : ช่วงวัยนี้ทันตแพทย์เด็กจะเน้นไปที่การทำความสะอาดฟันอีกเช่นกัน โดยมีผู้ปกครองหรือผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ ป้องกันฟันชุดน้ำนมทั้งหมดผุ
- การทำฟันเด็กอายุ 7 – 12 ปี : จัดเป็นช่วงวัยที่มีฟันแท้เริ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รู้จักวิธีป้องกันต่าง ๆ การเกิดอุบัติเหตุต่อฟันหน้า ห้ามใช้ลิ้นดันฟันเพราะอาจทำให้ฟันยื่นได้ สุ่มเสี่ยงต่อการหกล้ม แล้วฟันหน้าหักร่วง รวมถึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี โดยเฉพาะฟันกรามที่ดูแลได้ยาก
การบริการของทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง?
เด็ก ๆ จำเป็นต้องทำฟันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผู้ใหญ่ไม่อาจมองข้ามเพราะอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาฟันผุ รากฟันอักเสบ เกิดการหลุดร่วงในที่สุด โดยทั่วไปการบริการของทันตกรรมเด็ก ได้แก่
1. ขูดหินปูน : ที่จะช่วยขจัดคราบแบคทีเรียออก ทั้งตามผิวฟันและซอกฟัน ป้องกันโรคเหงือก ช่องปากมีสุขภาพแข็งแรง โดยเด็ก ๆ มักมีคราบหินปูนสะสมทุก 6 เดือน
2. เคลือบฟลูออไรด์ : เรียกได้ว่าเป็นบริการทันตกรรมเด็กที่ถูกเลือกบ่อยมาก เพราะจะช่วยให้ฟันสะอาด ป้องกันฟันผุ ซึ่งจะใส่ฟลูออไรด์แบบวาณิช หรือเจลมาเคลือบผิวฟันไว้
3. รักษารากฟันน้ำนม : การทำฟันเด็กประเภทนี้เกิดจากฟันน้ำนมผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน อุดฟันเด็กแบบปกติไม่ได้แล้วเพราะเชื้อลุกลามไปไกล
4. อุดฟันเด็ก : เป็นทั้งบูรณะและซ่อมแซมฟันให้กลับมาบดเคี้ยว กัดกินอาหารได้ตามปกติ ซึ่งเด็กช่วงวัย 6 – 7 ปีจะพบว่าอุดฟันกรามซี่ในสุดเยอะ เพราะมีโอกาสฟันผุง่ายที่สุด วิธีการและตำแหน่งฟันขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์
5. ถอนฟันน้ำนม : เป็นกระบวนการรักษาที่เกิดขึ้นได้หลากหลาย อาจจะมาจากฟันผุมาก ๆ ลึกเกินกว่าโพรงประสาทรากฟัน จะรักษารากฟันก็ไม่ได้แล้ว หรือฟันแตกแล้วติดอยู่เอาออกไม่ได้ ฟันแท้ขึ้นแทรกมาแต่ฟันน้ำนมยังไม่หลุด เป็นต้น
6. เคลือบฟันน้ำนม : เป็นวิธีการบูรณะฟันน้ำนมที่ผุให้กลับมาใช้งานได้ดีอีกครั้ง โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ครอบฟันน้ำนมสีขาวที่ได้จากวัสดุอุดฟัน, การครอบฟันน้ำนมสีเงินที่มีวัสดุเป็น Stainless Steel และการครอบฟันน้ำนมสีขาวที่ได้วัสดุแบบเซรามิก
7. เคลือบหลุมร่องฟัน : เป็นการผลึกหลุม หรือร่องฟันที่ได้มาจากวัสดุเรซิน ทำให้หลุมร่องฟันมีความตื้นขึ้นมา ง่ายต่อการทำความสะอาดฟัน ซึ่งจะแนะนำให้ทำกับฟันกรามซี่แรกที่ขึ้นมาในช่วงวัย 6 ปี
ขั้นตอนของทันตแพทย์เกี่ยวกับรักษาทำฟันเด็ก
แรกเริ่มเลยทันตแพทย์จะสอนให้เด็ก ๆ ได้รู้จักกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในช่องปากอย่างเป็นลำดับ ไม่ซับซ้อน ตั้งแต่ สอนแปรงฟัน ตรวจฟันให้เห็นถึงความผิดปกติ การขัดฟัน รวมถึงการเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งต้องมีการวางแผนการรักษาอยู่เสมอ ยกตัวอย่าง
- กรณีที่เด็กเคยมีประสบการณ์ไม่ดีมาก่อน ทันตแพทย์ก็จะใช้จิตวิทยาในการสื่อสาร ค่อย ๆ บอกเล่าปรับทัศนคติให้เด็กกลับมายอมรับและพร้อมดูแลฟัน ทำทันตกรรมต่อไป
- กรณีที่เด็กมีอาการปวดฟันมาแล้ว ในการทำฟันเด็กก็จะต้องให้อาการปวดหายไปก่อน จะไม่สามารถทำตามขั้นตอนที่บอกข้างต้นได้ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กไม่ชอบทำฟัน จึงอยากฝากถึงผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็ก ๆ ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นมา ดูแลรักษา ทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเข้าไว้
ทั้งนี้ ในการเลือกใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยขจัดเศษอาหารที่ติดตามร่องฟันเด็กนั้น ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 4 ปี โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลต้องคอย ๆ ทำ และฝึกสอนเป็นประจำ โดยท้ายที่สุดเด็กจะสามารถทได้ก่อนอายุ 8 ปีไปโดยปริยาย
จะเห็นได้ว่าการทำฟันเด็กนั้นต้องได้ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะแตกต่างจากการทำฟันผู้ใหญ่ไปบ้าง เพราะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับฟันแง่มุมต่าง ๆ ทั้งการดูแล ทำความสะอาด ขัดฟัน ฯลฯ การรักษาเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ เคลือบหลุมร่องฟัน รวมทั้งรักษาปัญหาฟันผุ ที่ต้องอุดฟัน รักษารากฟัน หรือครอบฟัน หวังว่าผู้ปกครองจะเอาใจใส่ให้ความสำคัญเรื่องฟันเด็ก ๆ ไม่มากก็น้อย